|
หมวดหมู่ > เครื่องเสียงรถยนต์ > บทความเครื่องเสียงรถยนต์ >
แอมป์วัตต์สูง VS แอมป์วัตต์ต่ำ
วันที่ : 26/04/2016
แอมป์วัตต์สูง VS แอมป์วัตต์ต่ำ โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ มีท่านนักเล่นเครื่องเสียง (ทั้งรถและบ้าน)ท่านหนึ่งโทรศัพท์มาท้วงติง จากบทความเดือนที่แล้วที่ผมแนะนำให้เล่นเพาเวอร์แอมป์กำลังขับสูงที่สุดเท่าที่จะซื้อไหว เพื่อนำมาขับลำโพงกลาง, แหลม, ผมก็พูดไปหลายหน้า ท่านนักเล่นท้วงว่า จากประสบการณ์ของเขา แอมป์วัตต์ต่ำดีๆเสียงน่าฟังกว่าแอมป์วัตต์สูงๆ คำแนะนำของผมจะทำให้นักเล่นหลงทางหรือเปล่า ผมก็ขอโอกาสอธิบายไขข้อข้องใจในบทความนั้น ประเด็นหลักคือผมเน้นการเล่นเพาเวอร์แอมป์ที่สุดไว้ขับลำโพงกลาง/ทุ้ม+ลำโพงแหลม เพื่อให้ได้เสียงทุ้มอิ่มลึกทรงพลังได้โดยแทบไม่ต้องเพิ่มระบบซับวูฟเฟอร์ก็ได้ นั่นเป็นการเน้นการแทนที่ระบบซับ โดยเล็งที่พลังเสียงต่ำ ไม่ได้เน้นคุณภาพกลาง,แหลมสุดๆ อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่ได้แนะนำให้ใช้เพาเวอร์แอมป์วัตต์สูงคุณภาพต่ำๆประเภทดังลูกเดียว อย่างน้อยคุณภาพต้องได้ด้วย แต่ก็ไม่ถึงกับระดับซุปเปอร์ไฮเอนด์มาเล่น ขอให้อยู่ในระดับคุณภาพที่รับได้ ซึ่งตัวอย่างเพาเวอร์แอมป์ BOSTWICK ก็ถือว่าสอบผ่าน สนนราคาเองก็ระดับทะลุหมื่นบาททั้งนั้น ไม่ใช่เพาเวอร์แอมป์โนเนมบ้านหม้อไม่กี่พันบาทที่ดังแบบไล่ควาย แต่ถ้าไม่เน้นทุ้มอิ่มๆลึกๆมากๆ และเน้นคุณภาพเสียง,มิติเสียงสูงสุด ถ้าแบบนี้มันก็จริงที่ว่า เพาเวอร์แอมป์กำลังต่ำกว่าเช่น 50 – 70 W.RMS/ข้าง (ที่ 4 โอห์ม) ก็มีสิทธิ์ให้คุณภาพเสียงดีกว่าเพาเวอร์แอมป์กำลังขับสูงๆ 150 – 160W.RMS /ข้าง(ที่ 4 โอห์ม) แต่นั่นก็ก็หมายความว่าเพาเวอร์แอมป์วัตต์ต่ำนั้นราคาเท่ากับหรือมักแพงกว่าแอมป์วัตต์สูงกว่าด้วยซ้ำ ทำไมเราถึงมีเพาเวอร์แอมป์วัตต์ต่ำ 50 – 70W.RMS/ข้าง ที่ราคาเกือบ 3 หมื่นบาทขณะที่ราคาขนาดนี้ซื้อเพาเวอร์แอมป์ วัตต์สูงได้ถึง 250W.RMS/ข้างก็มี ขณะที่แอมป์วัตต์สูงระดับ 300W.RMS/ข้าง ที่คุณภาพดีๆที่ราคาเกือบแสนบาทก็ยังมี ในกรณีที่เป็นยี่ห้อเดียวกัน ตระกูลเดียวกัน แอมป์วัตต์สูงกว่ามักให้อะไรๆที่ดีกว่าเสมอ (ถ้าคนออกแบบเป็นงานและผลิตมาดี) กำลังขับของแอมป์บางทีก็เทียบเคียงกันยาก กรณีที่ออกแบบมาอย่างเผื่อเอาไว้สุดๆและเน้นอัดฉีดกระแสได้สูงที่สุด ซึ่งดูจากสเปคกล้าระบุว่า 50W.RMS/CH ที่ 4 โอห์ม (ความเพี้ยน THD 0.01% ตลอดช่วงความถี่ 20 – 20,000 Hz) กำลังขับเบิ้ลเป็น 2 เท่าที่ 2 โอห์ม ด้วยสเปค THD และความถี่เหมือนกัน ได้กำลังเป็น 100W.RMS/CH ที่ 2 โอห์ม และถ้าบ้าเลือดได้ถึง 200W.RMS/CH ที่ 1 โอห์ม (THD,ความถี่เหมือนกัน) อย่างนี้เชื่อได้เลยว่า จะให้ทั้งคุณภาพเสียงที่ดีเยี่ยมและกำลังขับที่ดุเดือดไม่มีตก ไม่มีอั้น อิ่ม หนัก มหึมา ระดับแอมป์ 150W.RMS/CH ที่ 4 โอห์ม ระดับพื้นๆต้องชิดซ้าย ทั้งกำลังขับและคุณภาพเสียง แต่นั่นก็หมายความว่าตัวแอมป์ 50W.RMS/CH นั้นต้องมีขนาดเท่ากับหรือใหญ่กว่าแอมป์ 150W.RMS/CH ด้วยซ้ำ แถมราคาแพงกว่าอีกเป็นเท่าตัวด้วย กำลังขับเป็นแค่องค์ประกอบนิดเดียวของหลักประกันว่า มันจะให้คุณภาพเสียงที่ดีเท่านั้นก็เหมือนดู TV แบบโปรเจคชั่น (ฉายด้านหลัง) จอ 50 นิ้ว ภาพอาจสู้จอแก้ว 29 นิ้วดีๆไม่ได้ พูดถึงเพาเวอร์แอมป์ อดคิดไม่ได้ว่าทำไมไม่มีใครทำแบบ 4CH หรือ 6CH ที่มีวงจรแบ่งเสียงอิเล็คโทรนิกส์ในตัวที่ตัดความถี่กินถึงช่วงสูงถึง 5KHz ได้เพราะปกติจะตัดต่ำ เพื่อออกกลางและออกซับเท่านั้น อย่างแอมป์ 4CH ถ้าเราเลือกจุดแบ่งความถี่ออก CH1, CH2 ได้เช่นเลือกได้ตั้งแต่ 1KHz ถึง 5KHz พร้อมปรับระดับเสียงได้ด้วยก็เท่ากับว่า เราเอาดอกแหลมต่อตรงกับแอมป์ได้เลย (CH1 เข้าซ้าย, CH2 เข้าขวา) และ CH3 , CH4 ตัดที่ความถี่เดียวกัน (หรือใกล้เคียง....ต้องฟัง,จูนเอา) ออกดอกกลางทุ้มได้เลย ไม่มีการใช้วงจรแบ่งเสียงของลำโพง (PASSIVE NETWORK) เป็นการขับตรงแบบ ACTIVE กันเลย ปกติวงจรแบ่งเสียงอิเล็คโทรนิกส์ที่มากับเพาเวอร์แอมป์รถ มักตัดชันพอสมควรอยู่แล้วคือ 2 ชั้น ( 12dB /octave) เท่ากับตัด 2 ชั้นของ PASSIVE ทีเดียว ถ้าใช้ลำโพงดีหน่อยก็น่าจะพอเพียงทีเดียว ไม่จำเป็นต้องตัดกันถึง 18dB /octave นั่นก็หมายความว่าเปิดโอกาสให้เลือกเล่นลำโพงได้อย่างอิสรเสรีมาก ยิ่งถ้าทางผู้นำเข้าลำโพงยอมสั่งเฉพาะดอกลำโพงมาขายจะทำให้ราคาลำโพงลดลงพอสมควรทีเดียว (อาจถึง 30%) หรือยอมขายแยกดอกลำโพงก็ยิ่งดีใหญ่ ผู้ซื้อสามารถจัด สรรหรือจับเข้าคู่เองได้หมด เช่น ใช้ดอกกลางทุ้มกรวยเคฟร่า แล้วก็ลองเลือกดอกแหลมโดมนิ่ม,โดมอลูมิเนี่ยม,โดมติตาเนี่ยม หรือกลับบ้าน โดมนิ่ม แล้วเลือกดอกกลางทุ้มกรวยกระดาษ,กรวยกระดาษแซมผงเซรามิก,กรวยไฟเบอร์,กรวยเคฟร่า,กรวยโปลี่โพไพลีน,กรวยโลหะ ฯลฯ และถ้าดีที่สุด ผู้นำเข้าลำโพงเปิดให้ลองเอาลำโพงไปใช้คู่กันดูว่าไปด้วยกันได้ไหม (อาจเอาตัวสำรองโชว์ไปลองก่อน เข้ากันได้ก็กลับมาเปลี่ยนเป็นดอกใหม่ไป แต่ตอนเอาไปลองจ่ายเต็มเท่าดอกใหม่ไว้) ถ้าทำได้อย่างนี้จะ สนุก และ แฮปปี้ กันมากทุกฝ่าย เรียกว่าใครชอบเสียงอย่างไหนก็ ปรุง กันเอาเอง อย่าลืมว่าการเปลี่ยนลำโพงมีผลต่อเสียงมากเหลือเชื่อทีเดียว มากกว่าเปลี่ยนแอมป์,สาย เยอะพอๆกับเปลี่ยนฟรอนท์ อย่างไรก็ตาม มันขึ้นอยู่กับผู้เล่นต้องพอเข้าใจการทำงานของดอกลำโพงด้วยซึ่งก็ไม่ยากนัก ทางผู้ขายลำโพงควรทำกราฟตอบสนองความถี่,และสเปคความไว,ความต้านทาน,ทนกำลังขับ,มุมกระจายเสียง (ถ้ามี) ของแต่ละดอกแนบมาให้ด้วย ทางผู้เล่นจะได้ใช้เป็นแนวทางในการเลือกจุดแบ่งความถี่และระดับเสียงทำให้การจูนเสียงทำได้ง่ายขึ้น ต้องบอกก่อนว่า การใช้ EQ ใดๆไม่สามารถปรับแต่งเสียงได้ลงตัวเท่าการจูนลำโพงดีๆเพราะการจูนลำโพงได้ลงตัวที่สุดจะต้องจูนทั้งสุ้มเสียงและมิติเสียงรวมทั้งเวทีเสียง ซึ่ง EQ ใดๆก็เข้าไม่ถึงตรงนี้ ได้แต่เพียงผิวเผิน เหมือนกับจะได้แต่ไม่ได้จริง ต้องคอยปรับแต่ง,แก้ ไปตามแต่ละเพลงตลอดเวลา ผมเคยพูดถึงข้อดีของการเล่นระบบลำโพงแบบ ACTIVE ไปเมื่อ 3 ปีมาแล้ว หลายท่านอาจไม่ได้อ่าน บางท่านอาจจะลืมจึงขอนำมากล่าวอีกครั้งเพื่อประกอบให้เห็นข้อดีและความน่าเล่นแบบนี้
รุ่น KA- 80.4 AB RMS/CH Hz คือ CH คู่ไหนเลือก HP หรือ LP ก็ได้) แถมตัดความถี่ต่ำลึกที่ไม่ต้องการได้ด้วย (SUBSONIC FILTER) เลือกได้ 10Hz-100Hz และยังยกทุ้มลึกได้อีก (เลือก 350-120 Hz 0 ถึง 18 dB) ค่า DF ก็สูงดีมากคือมากกว่า 200 ค่า S/N มากกว่า 100 d B ที่น่าทึ่งคือ LP,HP ตัดชันถึง 180 dB/oct! รุ่น KA- 90.2 AB W.RMSx2CH ที่ 4 โอห์ม, 140W.RMSx2CH ที่ 2 โอห์ม) (อย่างอื่นเหมือน KA-80.4 AB) รุ่น KA- 200.2 AB AB (ทั้ง 2 รุ่นอย่าลืมเปิดฝาแล้วแยกแหกสายแบบที่พ่วงจากแผงปรี (เล็ก) ไปแผงใหญ่ด้านล่างไม่ให้แตะกันได้จะยิ่งดีที่สุด) สำหรับเพาเวอร์แอมป์วัตต์ (ตัวเลข) ไม่สูง แต่กลับให้พลังขับสูงผิดคาดและคุณภาพเสียงไฮเอนด์ ตัวอย่างเช่นของ SINFONI จากอิตาลีแท้ รุ่น AMPLI TUDE 90.2 (105W.RMS/CH ที่ 4 โอห์ม และ 165W.RMS/CH ที่ 2 โอห์ม) และรุ่น AMPLI TUDE 45.2 (72W.RMS/CH ที่ 4 โอห์ม และ 121W.RMS/CH ที่ 2 โอห์ม) ที่ 14.4V ทั้ง 2 รุ่น www.maitreeav.com |